วัดเชียงทอง Wat Xieng Thong พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ, ดร. (Phra Athiwat Ratanavanno, Dr.) วัดเชียงทองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงซึ่งตรงข้ามกับวัดลองคูณและตั้งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำคาน ไปทางทิศใต้ประมาณ 300 เมตร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ด้านเหนือของพระราชวังเก่า ถ้าไปตามเส้นทางที่สองนับจากริมน้ำโขงมา จะไปจรดกับรั้ววัดเชียงทอง ซึ่งเริ่มจากรั้ววังเก่าเป็นระยะประมาน 850 เมตร วัดเชียงทองเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่วัดหนึ่ง และค้นหาได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็นทางบก และทางน้ำ…
หอลาดสะลด (โรงเก็บราชรถ) หรือ “โรงเมี้ยน (เก็บ) โกศ” หอลาดสะลด (โรงเก็บราชรถ) หรือ “โรงเมี้ยน (เก็บ) โกศ” เป็นองค์ประกอบพิเศษของวัดตั้งอยู่ด้านหน้าเยื้องไปทางขวาของสิมถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๖๒ โดยการออกแบบของเจ้ามณีวงศ์และการตกแต่งโดยช่างหลวงเพียตันเพื่อเป็นโรงเก็บราชพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ที่สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๕๙ ตัวอาคารมีลักษณะคล้ายโบสถ์ทรงสูงประดับด้วยลวดลายแกะสลักสีทองงดงามเกือบทั้งหลังโดยเฉพาะด้านหน้ามีลวดลายแกะสลักตั้งแต่หน้าบันลงมาถึงพื้นตัวผนังด้านหน้าถูกออกแบบเป็นพิเศษให้สามารถถอดออกเป็นส่วนๆ เพื่อการเคลื่อนราชรถได้ ที่นี่ยังเป็นที่เก็บพระโกศของพระมารดาและพระเจ้าอาของเจ้าศรีสว่างวงศ์ด้วย โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก จุดเด่นคือด้านหน้าและผนังด้านนอกปิดทับด้วยแผ่นไม้สักแกะสลักและปิดทอง ซึ่งประดิษฐ์โดยช่างฝีมือท้องถิ่น โดยมีช่างฝีมือหลวงพระบางหลายคน…
วัดป่าไผ่มีไชยาราม (Wat Paphaimisaiyaram) วัดป่าไผ่ หรือ “วัดแห่งป่าไผ่” ตั้งอยู่บนถนนสายรองระหว่างถนนศรีสว่างวงศ์และถนนกุนโซว ห่างจาก Wat Paphane ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 100 เมตร วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2188 (ตามคำบอกเล่าของปาร์มองติเยร์) แต่จากข้อมูลของนักประวัติศาสตร์หลวงพระบางระบุว่าน่าจะสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2358 มากกว่า สิม ของวัด เป็นรูปแบบที่สร้างกันในหลวงพระบาง ซึ่งทาง…
วัดปากคาน (สร้าง พ.ศ. 2316 บูรณะใหม่ต้นศตวรรษที่ 20) วัดปากคานได้ชื่อมาจากแม่น้ำน้ำคาน เนื่องจากวัดนี้ตั้งอยู่ปลายสุดของริมฝั่งตะวันออกของหลวงพระบาง ตรงจุดที่แม่น้ำสายนี้มาบรรจบกับแม่น้ำโขง ตามคำบอกเล่าของเดนิส เฮย์วูด วัดนี้น่าจะสร้างขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2316 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอินทาโสม (ครองราชย์ พ.ศ. 2270-2319) และต่อมาได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 วัดนี้ได้รับการกำหนดให้เป็น "หลวงพระบางสไตล์ I" โดย UNESCO…
Gawdawpalin Temple (ကောတော့ပလ္လင်ဘုရား) Gawdawpalin Pahto เริ่มก่อสร้างในช่วงรัชสมัยของ Sithu II (หรือ Narapatisithu, ค.ศ. 1174–1211) และแล้วเสร็จในรัชสมัยของ Nadaungmya (หรือ Htilominlo, ค.ศ. 1211–1234) วัดนี้เป็นหนึ่งในวัด ที่ใหญ่ที่สุดใน Bagan (เป็นวัดที่สูงเป็นอันดับสองของ Bagan) และมีลักษณะที่สง่างามโดดเด่น ว่ากันว่าชื่อ…
พระบฏ รูปพระพุทธเจ้าและพระอัครสาวก พระบฏ รูปพระพุทธเจ้าและพระอัครสาวก ศิลปะรัตนโกสินทร์อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 นายฟรังชัวส์ ดูโฮ เดอเบเรงซ์ มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาเก็บรักษา ลักษณะของภาพพระบฏแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนบนของภาพพระบฏ แสดงภาพพระพุทธเจ้า ทรงยืนอยู่ตรงกึ่งกลาง ขนาบข้าง ด้วยพระอัครสาวก 2 องค์ คือ พระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร ส่วนล่างของภาพพระบฏแสดงเหตุการณ์เมื่อครั้งพระมาลัยเสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อสักการะพระเจดีย์จุฬามณี…
Dhammayangyi Temple (สร้างราว ค.ศ. 1165) (พม่า: ဓမ္မရံကြီးပုထိုး) Dhammayangyi Temple (สร้างราว ค.ศ. 1165?) (พม่า: ဓမ္မရံကြီးပုထိုး) Dhammayangyi หรือ Dhamma-yan-gyi Pahto เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน Bagan โดยมีความกว้างประมาณ 255 ฟุต (78 เมตร)…
Ananda Pahto Temple (สร้างราว ค.ศ. 1090–1105) (พม่า: အာနန္ဒာဘုရား) Ananda Pahto หรือ Phaya เป็นวัดขนาดใหญ่แห่งแรกใน Bagan และยังคงเป็นหนึ่งในวัดที่งดงามที่สุด เป็นที่ชื่นชมและถ่ายภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในกลุ่มสถาปัตยกรรมของ Bagan ทั้งหมด วัดนี้เป็นผลงานชิ้นเอกที่มีความสมมาตรใน รูปแบบสถาปัตยกรรมมอญ (Mon) โดยผสมผสานอิทธิพลจาก อินเดียตอนเหนือ สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านจากยุคต้นสู่ยุคกลางของสถาปัตยกรรม Bagan…
โคมล้านนา พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ, ดร. Phra Athiwat Ratanavanno, Dr. ประเพณีลอยโคม เป็นประเพณีพื้นบ้านที่สำคัญของชาวล้านนา ซึ่งจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสอง โดยมีลักษณะเฉพาะคือการปล่อยโคมลอยขึ้นไปในอากาศ ไม่ใช่การลอยโคมตามลำน้ำหรือลอยกระทง โคมลอยดังกล่าวมักทำจากกระดาษสา ติดบนโครงไม้ไผ่ และตกแต่งให้มีสีสันสวยงาม ภายในติดตั้งตะเกียงไฟไว้ตรงกลาง เพื่อให้เกิดไอร้อนเป็นแรงผลักดันให้โคมลอยขึ้นสู่อากาศ ตามความเชื่อของชาวล้านนา การจุดและปล่อยโคมลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นการปลดปล่อยความทุกข์โศกและเหตุร้ายต่าง ๆ…
Abe-ya-dana-hpaya Temple, Bagan, Myanmar (late 11th century) Designated Monument # 1202 by UNESCO. Abe-ya-dana-hpaya is located immediately to the south of Myinkaba village, sitting on the…